วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

งานพระธาตุ

พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกซึ่งจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า "ธาตุปะนม" เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ ( กระดูกส่วนพระอุระ ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทยประมาณ ๕๐๐ เมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร
ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตบูรกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ อันมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประมุข ลักษณะการก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปะ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดทั้งสี่ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปะเถระนำมาจากประเทศอิเนเดีย ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียว ยังเปิดให้คนเข้าไปสักการะบูชาได้อยู่บางโอกาส ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า "ยังมิได้ฐานปนาให้สมบูรณ์" นี้ก็หมายความวว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุให้มิดชิดนั่นเอง พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐

ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุพนมในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ ๑. พญาจุลณีพรหมทัค ครองแคว้นจุลมณี ก่อด้านตะวันออก ๒. พญาอินทปัตถนคร ครองเมืองอินทปัตถนคร ก่อด้านตะวันตก ๓. พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก ๔. พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ ๕. พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาโดยลำดับ ซึ่งจะได้นำมาเขียนไว้โดยสังเขปดังนี้ ๑. การบูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร ( สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังลงแล้ว ) แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิม ซึ่งทำการบรรจุตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์ ( เวลานี้พบแล้ว อยู่สูงจากระดับพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร ) ๒. การบูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูร เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างกำแพงรอบพระธาตุ พร้อมทั้งซุ้มประตู และเจดีย์หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์ ( ถูกพระธาตุหักพังทับยับเยินหมดแล้ว ) ๓. การบูรณะครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน การบูรณะครั้งนี้ ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งทำการบูรณะใน พ.ศ. ๕๐๐ ให้สูงขึ้นอีกประมาณ ๔๓ เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต และอัญมณีอันมีค่าต่าง ๆ ไว้ภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกพระธาตุพนมว่า "ธาตุปะนม" (ประนม) ๔. การบูรณะครั้งที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๕๖ โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ ประดับด้วยเพชรพลอยสีต่าง ๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ด และได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ในปีนั้น ( พ.ศ. ๒๓๕๖ ) ( ฉัตรนี้ ได้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๙๗ ) ๕. การบูรณะครั้งที่ ๕ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุพนมใหม่ ลงรักปิดทองส่วนบนประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง ๖. การบูรณะครั้งที่ ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ชุมจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้กรมศิลปากรอันมีหลวงวิจิตราวาทการเป็นหัวหน้า สร้างเสริมครอบพระธาตุพนมองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชัน้ที่ ๓ ขั้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร ๗. พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ ซึ่งเป็นของวัดที่ได้จากประชาชนบริจาคและได้ทำพิธียกฉัตรในปีนั้น ฉัตรทองคำ มีเนื้อทองของวัดอยู่ประมาณ ๗ กิโลกรัม นอกนั้นเป็นโลหะสีทองหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม ฉัตรหนักทั้งหมด ๑๑๐ กิโลกรัม ก่อนรื้อนั่งร้าน ทางวัดได้ขอแรงสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร โบกปูนตั้งแต่ยอดซุ้มประตูพระธาตุชั้นที่ ๑ จนถึงยอดสุด ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือนจึงแล้วเสร็จ
องค์พระธาตุพนม

๘. พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารได้ลงรักปิดทองพระธาตุพนมส่วนยอดประมาณ ๑๐ เมตรจนถึงก้านฉัตร ได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารช่วยทำ ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือน กับ ๑๕ วัน จึงเสร็จเรียบร้อยดี ๙. พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนม ลงรักปิดทองลวดลายองค์พระธาตุพนมช่วงบน ซึ่งทำการประดับใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ ส่วนยอดสูงประมาณ ๕ เมตร ได้เอาแผ่นทองเหลืองหุ้มแล้วจึงลงรักปิดทอง ใช้เวลาทำงาน ๒ เดือนกว่าจึงแล้วเสร็จ
๑๐. ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ ทับวัตถุก่อสร้าง ๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างในสมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก และไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงเกิดพังทลายลงมาดังกล่าว ๑๑. วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๑๘ หลังจากองค์พระธาตุพนมพังทลายแล้ว ๒๐ วัน เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ลงมือทำการรื้อถอนและขนย้ายซากปรักหักพังขององค์พระธาตุพนม ใช้แรงงานคนงานจำนวน ๕๐ คน ใช้เวลาในการรื้อถอนและขนย้ายอยู่ ๑๗๐ วันจึงเสร็จเรียบร้อยดี ๑๒. วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๘ ทำพิธีบูชาพระธาตุพนมและบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษตลอดถึงเทพเจ้าผู้พิทักษ์องค์พระธาตุพนม และอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระธาตุจำลองชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ เมื่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่เสร็จแล้ว จะได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่เดิม ในพิธีนี้มี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระพิมลธรรม ( อาสภมหาเถระ ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และในขณะเดียวกันก็ได้อัญเชีญเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่พระธาตุจำลองด้วย ๑๓. วันที่ ๑๗ - ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังแล้ว ๖๒ วัน ) ได้พบพระอุรังคธาตุหรือกระดูกส่วนหัวอกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรจุอยู่ในผอบแก้ว หรือหลอดแก้ว ซึ่งมีสัณฐานคล้ายรูปหัวใจ ผอบแก้วใบนี้หุ้มทองมีช่องเจาะสี่ด้าน มีฝาทองคำปิดสนิทสูง ๒.๑ เซนติเมตร มีสีขาวแวววาวมาก คล้ายกับแก้วผลึก ภายในผอบมีน้ำมันจันทน์หล่อเลี้ยงอยู่และมีพระอุรังคธาตุบรรจุอยู่ ๘ องค์ ๑๔. วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากพบพระอุรังคธาตุแล้ว ๒ เดือน ๒๕ วัน ) ได้จัดสมโภชพระอุรังคธาตุขึ้นรวม ๗ วัน ๗ คืน งานเริ่มวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ถึงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๙ ในงานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์สถานที่ประกอบพิธีอยู่ที่สนามหญ้าหน้าบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุพนม ๑๕. วันที่ ๑๐ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออบมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา และนำสิ่งของที่พบในองค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนชมตลอดงาน ๑๖. วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๙ บริษัท อิตาเลียน - ไทย ได้ขุดหลุมลงเข็มรากพระธาตุพนมองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ ๒๘ - ๒๙ พฤษภาคม ศกเดียวกัน ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อันมีพระเทพรัตนโมลี เป็นประธาน ได้ทำพิธีลงเข็มรากพระธาตุพนมเพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ ๑๗. วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๙ สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จมาเยี่ยมคณะสงฆ์และประชาชนทั่วัดพระธาตุพนม ได้ตรวจดูการก่อสร้างองค์พระธาตุพนม และได้ทรงนมัสการพระอุรังคธาตุด้วย ๑๘. วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๙ ถึงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๐ ทางวัดได้ขอแรงประชาชนในเขตอำเภอธาตุพนม มาขนเศษอิฐเศษปูนจากบริเวณสนามหญ้าข้างในวิหารคตออกไปกองไว้ข้างนอกทางด้านทิศเหนือ ซึ่งอยู่ใกล้หอพระนอน ๑๙. วันที่ ๑๙ มกราคม ถึงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีกธาตุ ออกไปให้ประชาชนชมและสักการะบูชาอีก และมีการแสดงนิทรรศการของโบราณเหมือนปีก่อน ๒๐. วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้ลงมือประดับตกแต่งลวดลายองค์พระธาตุพนม ๒๑. วันที่ ๑๗ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาจนตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้าคณะจังหวัดนครพนม และนายสมพร กลิ่นพงษา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่โดยตั้งขบวนแห่ที่ถนนหน้าวัดแล้วเดินทางไปตามถนนชยางกูร เลี้ยวเข้าถนนหน้าพระธาตุพนมจำลอง ตรงไปยังเบญจาซึ่งตั้งอยู่สนามหญ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพระธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เบญจา เสร็จงานแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการแสดงนิทรรศการเหมือนปีก่อนฯ ๒๒. วันที่ ๖ - ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ทางวัดได้จัดงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีเหมือนปีก่อน ๆ และได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร และนายพิชิต ลักษณะสมพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่รอบองค์พระธาตุ ๑ รอบ แล้วจึงได้อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานไว้ บนพระเบญจาตลอด ๗ วัน ในวันสุดท้ายของงานพระเทพรัตนโมลี พร้อมด้วยพระสงฆ์และญาติโยมได้ทำพิธีคาระวะพระอุรังคธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการนำเอาของมีค่าซึ่งค้นพบที่องค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนได้ชมจนตลอดงานเหมือนปีที่แล้วมา ๒๓. วันที่ ๒๑ - ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒ ทางรัฐบาลได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีบรรจุ ในวันแรกของงานได้ทำพิธีแห่พระอุรังคธาตุ ในวันที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงเป็นประธานยกฉัตรพระธาตุ ในวันที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ

ประวัติพระธาตุพนม

พระธาตุพนม
พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน พระธาตุพนม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ การบูรณะครั้งแรกและครั้งที่สอง ไม่ได้บันทึกปีที่บูรณะไว้ การบูรณะครั้งที่สามเมื่อปี พ.ศ. 2157 ครั้งที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2233 ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2349 ครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2444 เป็นการบูรณะครั้งใหญ่ และต่อจากนั้นมาก็มีการบูรณะทั่วไป เช่น บริเวณโดยรอบพระธาตุ ได้มีพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานไว้ที่ยอดองค์พระธาตุ และนำฉัตรเก่ามาเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2497 มีพุทธศาสนิกชนจากดินแดนสองริมฝั่งโขงทั้ง ไทยและลาว หลั่งไหลมาร่วมมงคลสันนิบาต และนมัสการองค์พระธาตุเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน
เมื่อปี พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม ภายในปีเดียวกัน และได้ยืนยงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 คำนมัสการพระธาตุพนมมีดังนี้ "กปณคิริสฺมิ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตุ สิรสา นมามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระบรมอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า นำมาฐาปนาไว้ ณ ภูกำพร้า ด้วยเศียรเกล้า"

ประวัติอุบลราชธานี

ประวัติจังหวัดอุบลราชธานี
ตำนานเมืองอุบล ได้กล่าวกันถึงการสืบเชื้อสายจากเจ้านครเชียงรุ้ง แสนหวีฟ้า ของเจ้าปางคำ พระบิดา ของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ โดยกล่าวถึง ปี พ.ศ.2228 เกิดวิกฤตทางการเมือง ในนครเชียงรุ้ง เนื่องจาก จีนฮ่อหัวขาว หรือฮ่อธงขาว ยกกำลัง เข้าปล้นเมืองเชียงรุ้ง เจ้านครเชียงรุ้ง ได้แก่ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี เจ้าปางคำ อพยพไพร่พล จากเมืองเชียงรุ้ง มาขอพึ่งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช แห่งเวียงจันทน์ ซึ่งเป็น พระประยูรญาติ ทางฝ่ายมารดา พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โปรดให้นำไพร่พลไปตั้งที่ เมืองหนองบัวลุ่มภู เมือง หนองบัวลุ่มภู จึงอยู่ในฐานะ พิเศษ คือไม่ต้อง ส่งส่วย บรรณาการ มีสิทธิสะสม ไพร่พล อย่างเสรีเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับ เวียงจันทน์ มีชื่อว่า "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" สันนิษฐานว่า น่าจะมีฐานะ เป็นเมืองลูกหลวง ต่อมา พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้ เจ้าอินทกุมาร เสกสมรส กับ พระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ได้โอรส คือ เจ้าคำ หรือเจ้าองค์นก ให้เจ้า นางจันทกุมารี เสกสมรสกับ พระอุปยุวราช ได้โอรส คือ เจ้ากิงกีศราช และ เจ้าอินทโสม ซึ่งต่อมา คือบรรพบุรุษของ เจ้านายหลวงพระบาง ส่วนเจ้าปางคำ ให้เสกสมรสกับ พระราชนัดดา ได้โอรส คือ เจ้าพระตา เจ้าพระวอ สันนิษฐานว่า ทั้งสองท่านเป็นเสนาบดี กรุงศรีสัตนาคนหุต ตั้งแต่สมัย พระไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (ชัยวงค์เว้) พระอัยกาของ พระเจ้า สิริบุญสาร การดำรงฐานะเป็น เจ้านายเชื้อสายพระราชวงศ์ ของพระเจ้าวอ พระเจ้าตา เห็นได้จากหลักฐาน หลายประการ อาทิ การที่หนองบัว ลุ่มภู เป็นเมือง ใหญ่ มีไพร่พลมาก ดังปรากฎเมืองหน้าด่านทั้งสี่ คือ เมืองภูเขียว ภูเวียง เมืองผ้าขาว เมืองพันนา และ การที่ เมืองอุบล ดำรง ฐานะเป็น เจ้าประเทศราชเมื่อเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ของพระมหากษัตริย์ ไทย ต่างจากเมืองเขมร ป่าดงอื่นๆ และเมื่อกำเนิด พ.ร.บ. นามสกุล โปรด พระราชทานนามสกุล "ณ อุบล" อันหมายถึง เชื้อสายเจ้านาย อุบลราชธานี แต่โบราณ เมื่อเจ้านายอุบล ถึงแก่อสัญกรรม ก็มี ประเพณี การทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ อันสืบมาจากนครเชียงรุ้ง ในเชียงใหม่ ก็ปรากฎการ ทำศพแบบนกหัสดีลิงค์เช่นเดียวกัน
การตั้งเมืองอุบลราชธานี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บ้านเมือง ค่อนข้างสงบก็ทรงมี นโยบายที่จะ จัดตั้งเมือง ให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการรวบรวมไพร่พลให้เป็นปึกแผ่น เพื่อความสงบสุข สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพได้ทรงกล่าวถึง เรื่องนี้ว่า "…รัชกาล ที่ 1 ถึงรัชการที่ 3 ให้เจ้าเมืองร้าง เที่ยวเกลี้ยกล่อมหา ผู้คนมาเป็นพลเมือง โดย ไม่ต้องใช้อำนาจ อาจทำได้ด้วยยินดีด้วยกัน ทุกฝ่ายก็สำเร็จ ประโยชน์ ถึงความมุ่งหมาย เจ้าเมืองไหนเกลี้ยกล่อมคนมาได้มาก ก็ได้ทรัพย์เศษส่วน และได้ผู้คนสำหรับอาศัยใช้สอยมากขึ้น ก็เต็มใจขวนขวาย ตั้งบ้านเมือง ฝ่ายราษฎรที่ไปเที่ยวหลบลี้ เดือดร้อนลำบากมากอยู่ เมื่อรู้ว่า บ้านเมืองเรียบร้อยอย่างเดิม ก็ยินดีที่จะกลับมา โดยมาก……" คงจะเป็น เพื่อสนองตอบ พระบรมราโชบาย ในการตั้งเมืองดังกล่าวมาแล้ว และเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพของ ไพร่บ้านพลเมือง "….ในปี พ.ศ.2329 ( จุลศักราช 1148 ปีมะเมีย นพศก) พระประทุมจึงย้ายครอบครัวไพร่พลมาตั้งอยู่ ณ ตำบลแจระแม ตือตำบล ที่ตั้ง อยู่ทาง ทิศเหนือ เมืองอุบลปัจจุบัน….."
สถาปนาเมืองอุบลราชธานี พ.ศ.2335 พระประทุมสุรราช (ท้าวคำผง) ได้พาพรรคพวกไพร่พลตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยแจระแม (บริเวณบ้าน ท่าบ่อ ในปัจจุบัน) ด้วยความปกติสุขเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่ง พ.ศ.2334 (จุลศักราช 1153 ตรีศก) อ้ายเชียงแก้ว ซึ่งตั้งบ้านอยู่ที่ตำบลเขาโองแขวง เมืองโขง คิดการกบฎ พาพรรคพวก ไพร่พลเข้ายึดนครจำปาศักดิ์ พระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) เจ้าเมืองซึ่งกำลังป่วยอยู่ก็มี อาการป่วยทรุดหนัก และถึงแก่พิราลัย อ้ายเชียงแก้วจึงยึดเมือง นครจำปาศักดิ์ไว้ได้ ความทราบ ถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เมื่อครั้งเป็น พระพรหม ยกกระบัตร ยกกองทัพเมืองนครราชสีมามาปราบกบฎอ้ายเชียงแก้ว อย่างไรก็ดีขณะที่กองทัพนครราชสีมายกมาไม่ถึงนั้น พระประทุมสุรราช (ท้าวคำผง) และท้าวฝ่ายหน้า ผู้น้อง ที่ตั้งอยู่บ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธร) ได้ยกกำลังไปรบอ้ายเชียงแก้วก่อน ทั้งสองฝ่าย ได้สู้รบกันที่บริเวณ แก่งตะนะ (อยู่ในท้องที่ อำเภอโขงเจียม) กองกำลัง อ้ายเชียงแก้วแตกพ่ายไป อ้ายเชียงแก้วถูกจับได้ และถูกประหารชีวิต เมื่อกองทัพ เมืองนครราชสีมายกมาถึงเมืองจำปาศักดิ์ เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อยแล้ว จึงพากันยกกองทัพ ไปตีพวกข่า "ชาติกระเสงสวาง จะรายระแดร์" ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขง จับพวกข่าเป็นเชลย ได้เป็นจำนวนมาก จากความ ดีความชอบในการปราบปรามกบฎอ้ายเชียงแก้วนี้เอง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช จึงได้ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ท้าวฝ่ายหน้าเป็น พระวิไชยราชขัตติยวงศา ครองนครจำปาศักดิ์ และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระประทุม สุรราช เป็นพระประทุม วรราชสุริยวงศ์ ครอง เมืองอุบลราชธานี พร้อมกับยกฐานะบ้านห้วยแจระแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 (พ.ศ.2335) ดังปรากฎ ในพระสุพรรณบัตรตั้ง เจ้าประเทศราชในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่า "….ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า ผู้ผ่าน พิภพกรุงเทพ มหานครศรีอยุธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ตั้งให้ พระประทุม เป็นพระประทุมวรราช สุริยวงศ์ ครองเมือง อุบลราชธานี ศรีวนาไลยประเทศราช เศกให้ ณ วัน 2 แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 ปีจัตวาศก..."
การตั้งเมืองต่างๆ ในอุบลราชธานี ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลขึ้นแล้ว ได้มีการตั้งเมืองสำคัญในเขตปกครอง ของจังหวัด อุบลราชธานี ปัจจุบัน ขึ้นอีกหลายเมืองดังนี้
1. เมืองยโสธรเดิมทีเดียวมีฐานะเป็นหมู่บ้าน ชื่อบ้านสิงท่า ท้าวฝ่ายหน้า (บุตรพระตา)เคยอพยพ ครอบครัว และไพร่พล มาตั้งหลักแหล่ง อยู่แล้ว ครั้งหนึ่ง ใน ราวปี พ.ศ.2329 แต่เมื่อคราวปราบกบฎ อ้ายเชียงแก้ว เมื่อปี 2334 ท้าวฝ่ายหน้าก็ได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระวิไชยราชสุริยวงศ์ ขัตติยวงศา ครองเมืองนครจำปาศักดิ์ต่อจากพระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) ที่ถึงแก่กรรมลง ต่อมาในปี พ.ศ.2357ราชวงศ์ (สิง) เมืองโขง ซึ่งเป็นญาติกับ พระวิไชยราชสุริยวงศ์ขัตติยวงศา เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ไม่พอใจ ที่จะทำราชการกับ เจ้าเมืองนครจำปาศักด์ จึงพาครอบครัวไพร่พลอพยพ ไปตั้งอยู่ที่ บ้านสิงท่า พร้อมมีหนังสือกราบบังคมทูลขอยกขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด้จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านสิงท่า เป็นเมืองยโสธร เมื่อปี พ.ศ.2357 พร้อมกับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ราชวงศ์ (สิง) เมืองโขง เป็นพระ สุนทรราชวงษาเจ้าเมืองยโสธร พร้อมโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวสีชา (หรือ สีทา) เป็นอุปฮาดท้าวบุตรเป็นราชบุตร ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ โดยให้ผูกส่วย น้ำรัก 2 เลกต่อ เบี้ย ป่าน 2 เลก ต่อขอด
2. เมืองเขมราฐในปี พ.ศ.2357 คือปีเดียวกับที่โปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองยโสธรนั่นเอง อุปฮาดก่ำ อุปฮาดเมือง อุบลราชธานี ไม่พอใจที่จะทำ ราชการกับ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 2 (พ.ศ.2338-2388) จึงอพยพ ครอบครัว ไพร่พล ไปตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกงพะเนียง พร้อมกับขอพระบรมราชานุญาตตั้งขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านโคกกง พะเนียง เป็นเมือง "เขมราษฎร์ธานี" ขึ้นกรุงเทพฯ พร้องกันนั้นก็ โปรดเกล้าฯ ตั้งอุปฮาดก่ำ เป็นพระเทพวงศ์ศาเจ้าเมือง โดยกำหนดให้ ผูกส่วยน้ำรัก 2 เลกต่อเบี้ย ป่าน 2 ขอด่อ 10 บาท เมือง "เขมราฐษร์ ธานี" ปัจจุบันคืออำเภอ เขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
3. เมืองโขงเจียมตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2364 ทั้งนี้เพราะขุนนักราชนาอินทร์ ผู้รักษาตำบลโขงเจียม มีความผิด เจ้าเมืองนคร จำปาศักดิ์ (โย่) จึงจับมาลงโทษ แล้วขอพระบรมราชานุญาต ตั้งท้าวมหาอินทร์ บุตรขุนนักอิน- ทวงษ์เป็นพระกำแหงสงคราม ยกบ้านนาค่อขึ้นเป็นเมืองโขงเจียม ขึ้นตรงต่อเมืองนคร จำปาศักดิ์ แต่พอถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คงด้วยเหตุผลทางการเมืองบางประการ จึงโปรด เกล้าฯ ให้เมือง โขงเจียมขึ้นตรงต่อ เมืองเขมราฐเมื่อ พ.ศ.2371
4. เมืองเสนางคนิคมโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2388 ทั้งนี้เพราะพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมือง อุบลราชธานีคนที่ 2 ได้นำ พระศรีสุราช เมืองตะโปน ท้าวอุปฮาด เมืองชุมพร ท้าวฝ่าย เมืองผาปัง ท้าวมหาวงศ์ เมืองคาง พาครอบครัวไพร่พล อพยพมาจาก ฝั่งซ้าย แม่น้ำโขง มาพึ่ง พระบรมโพธิ สมภาร และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านช่องนาง แขวงเมือง อุบลราชธานี เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่กรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านช่องนางเป็นเมืองเสนางคนิคม ตั้งพระศรีสุราชเป็นพระศรีสินธุสงคราม เจ้าเมือง ให้ท้าวฝ่ายเมืองผาปัง เป็น อัครฮาด ท้าวมหาวงส์เมืองคาง เป็น อัครวงศ์รักษาเมืองเสนางคนิคม ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี แต่เมื่อตั้งเมืองจริงนั้น เจ้าเมืองกลับพา พรรคพวกไพร่พล ไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดก หาได้ตั้งที่บ้านช่องนางดังที่โปรดเกล้าฯ ไม่
5. เมืองเดชอุดมในปีเดียวกับตั้งเมืองเสนางคนิคมนี้เอง หลวงธิเบศร์ หลวงมหาดไทย หลวงอภัย กรมการเมืองศรีสะเกษ ไม่พอใจที่จะทำ ราชการ กับพระยาวิเศษภักดีเจ้าเมืองศรีสะเกษ จึงอพยพครอบครัวไพร่พลไปตั้งอยู่บ้านน้ำโดมใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่พรมแดนระหว่าง เมืองนครจำปาศักดิ์ อุบลราชธานี ขุขันธ์ ศรีสะเกษ ติดต่อกัน มีไพร่พลทั้งหมด 2,150 คน และมีเลกฉกรรจ์ 606 คน
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเก้าฯ ให้ยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม เมื่อ วันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 2388 (จ.ศ.1207) พร้อมกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ ให้หลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด ให้หลวงอภัยเป็นหลวงยกระบัตร รักษาเมือง เดชอุดมขึ้นกรุงเทพฯ
6. เมืองคำเขื่อนแก้วตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2388 ทั้งนี้เพราะพระสีหนาท พระไชยเชษฐา นายครัวเมืองตะโปน ได้พาครอบครัว ไพร่พลมาตั้งอยู่ ที่บ้าน คำเมืองแก้ว แขวงเมืองเขมราฐ พระเทพวงศา (บุญจันทร์) เมืองเขมราฐ จึงกราบบังคมทูลเพื่อขอตั้งเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านเมืองแก้ว ขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้นกับเขมราฐ
7. เมืองบัว(ปัจจุบันคือ อำเภอบุณฑริก) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2390 ทั้งนี้เพราะเจ้านครจำปาศักดิ์ (นาก) เห็นว่าการที่โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมือง เดชอุดม ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2388 นั้น เป็นผลกระทบกระเทือนต่อเขตแดน เมืองนครจำปาศักดิ์มาก เพราะจะเป็นผลให้เขตแดน ทางทิศตะวันตก ลดน้อยถอยลง จึงนำเรื่องขึ้น กราบบังคมทูล ขอยกบ้านดงกระชู (หรือบ้านไร่) ขึ้นเป็นเมือง เพื่อกันเขตแดนเมืองเดชอุดมไว้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านดงกระชู ขึ้นเป็นเมืองบัว ขึ้นตรง ต่อเมืองนครจำปาศักดิ์ และให้ท้าวโสเป็นพระอภัยธิเบศร์วิเศษสงครามเจ้าเมือง
8. เมืองอำนาจเจริญตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2401 พระเทพวงศาเจ้าเมืองเขมราฐมีใบบอกกราบบังคมทูลขอตั้งบ้านค้อใหญ่ขึ้น เป็นเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้าน ค้อใหญ่ขึ้นเป็นเมืองอำนาจเจริญ ขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ ผูกส่วยเงินแทนผลเร่วปีละ 12 ชั่ง 18 ตำลึง ตั้งท้าว จันทบรม เป็นพระอมร อำนาจเจ้าเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ ท้าวสุริโยเป็น ราชบุตร
9. เมืองพิบูลมังสาหารตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2406 พระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3 (พ.ศ. 2388-2409) ได้มีใบบอก กราบเรียน เจ้าพระยา กำแหงสงคราม เจ้าเมืองนครราชสีมา เพื่อนำความ กราบบังคมทูลขอตั้งบ้านกว้างลำชะโด เป็นเมือง และขอตั้งท้าวจุมมณี เป็น เจ้าเมือง พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด เป็นเมือง "พิบูลย์มังสาหาร" เมื่อวันอาทิตย์ แรม 11 ค่ำ เดือน 12 และ โปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวธรรมกิตติกา (จุมมณี) เป็นพระบำรุง- ราษฎร์เจ้าเมือง ให้ท้าวโพธิ-สารราช (เสือ) เป็นอุปฮาด ท้าวสีฐาน (สาง) เป็นราชวงศ์ ท้าวขัตติยะเป็นราชบุตร โดยกำหนดให้ ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี
10. เมืองตระการพืชผลใน พ.ศ.2406 พร้อมๆ กับการขอตั้งเมือง "พิบูลมังสาหาร" พระพรหมราชวงศา เจ้าเมืองอุบลราชธานี ก็ขอตั้ง บ้านสะพือ ขึ้นเป็นเมืองด้วย และขอให้ท้าวสุริยวงศ์ (อ้ม) เป็นเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านสะพือขึ้น เป็นเมืองตระการพืชผล ให้ท้าวสุริยวงศ์ (อ้ม) เป็นพระอมร ดลใจเจ้าเมือง เมื่อวันอาทิตย์แรม 10 ค่ำ เดือน 12 โดยกำหนดให้ ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี
11. เมืองมหาชนะชัย พร้อมๆ กับขอตั้งเมืองพิบูลย์มังสาหาร และเมืองตระการพืชผลนั้นเอง ก็ได้ ขอตั้งบ้านเวินไชย ขึ้นเป็นเมืองด้วย ซึ่งก็ได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเป็นเมืองมหาชนะไชย ตั้งให้ท้าวคำพูนเป็นพระเรืองไชยชนะ เจ้าเมือง ท้าวโพธิราช (ผา) เป็นอุปฮาด ท้าววรกิตติกา (ไชย) เป็นราชวงศ์ ท้าวอุเทน (หอย) เป็นราชบุตร ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี
เจ้าเมืองอุบลราชธานีในอดีต ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีจำนวนทั้งสิ้น 4 ท่านดังนี้
1. พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (พ.ศ.2335-2338) นามเดิม ท้าวคำผง บุตรเจ้าพระตา เป็นบุคคลสำคัญ ในการสร้างบ้าน แปงเมืองอุบล โปรดให้สร้างคู ประตูเมือง หอโฮงเจ้านายต่างๆ สร้างวัดหลวง และเสนาสนะ อาทิ สิม อาฮาม หอระฆัง พระพุทธรูป สิ่งก่อสร้าง ล้วนเลียนแบบ ศิลปแบบหลวงพระบาง
2. พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พ.ศ.2338-2388) นามเดิม พรหม น้องชายพระประทุม (คำผง) เป็นบุตรชาย คนเล็กของ เจ้าพระตา เป็นผู้ก่อสร้างวัด ป่าหลวง (วัดป่าหลวงมณีโชติ) นำไพร่พลผู้ศรัทธาสร้างพระพุทธรูป องค์ใหญ่ก่ออิฐถือปูน เป็นที่ เคารพสักการะของชาวอุบลฯ มีชื่อว่า พระเจ้าใหญ่ อินทร์แปลง ปัจจุบัน เป็นพระประธาน ในวิหารวัดมหาวนาราม
3. พระพรหมราชวงศา (พ.ศ.2388-2409) นามเดิม กุทอง สุวรรณกูฏ บุตรพระพรหม (ทิดพรหม) ในสมัยของท่าน ธรรมยุติกนิกาย แพร่หลายในเมือง อุบลฯ เพื่อสนองพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้สร้างวัดสุปัฏนาราม และบรรดา อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ร่วมกัน สร้างวัดศรีทอง (ศรีอุบลรัตนาราม) วัดสุทัศน์ ซึ่งเหตุการณ์สำคัญในสมัยนี้คือการเข้าร่วมสงคราม ขับไล่ญวน
4. เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (พ.ศ.2409-2425) เจ้าพรหมเทวา (เจ้าหน่อคำ) เป็นพี่ชายเจ้าจอมมารดา ด้วงคำใน รัชกาลที่ 4 เจ้าราชวงศ์ จำปาศักดิ์ บุตรเจ้าเสือหลานเจ้าอนุวงศ์ ในสมัยของท่านได้สร้างวัดไชยมงคล ซึ่งเป็นวัดธรรมยุตที่สี่ ในจังหวัดอุบลราชธานี สิ่งที่พึงสังเกต คือ ความขัดแย้งระหว่าง เจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงศ์ รุนแรง เนื่องจากฝ่ายเจ้านายอุบลฯ ไม่พอใจที่ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ เจ้าหน่อคำเป็นเจ้าเมือง ในสมัยนั้นจึง เกิดการทะเลาะ วิวาทขัดแย้งกัน กลั่นแกล้งกันอยู่เสมอ ท้ายที่สุด ราวปี พ.ศ.2412 เกิดกรณี เมืองไซแง ได้เกิดความบาดหมาง ทวีความรุนแรง ต่างฝ่ายต่างเกล่าโทษ ซึ่งกัน และกัน เจ้าพรหม กล่าวหาว่า อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ขัดขวางไม่ให้เก็บเงินส่วย จากไพร่ ข้างฝ่ายอุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ก็กล่าวหาว่า เจ้าพรหม ฉ้อราษฎร์บังหลวง ทั้งสองฝ่ายจึงลงมา สู้ความกันที่กรุงเทพฯ จนพากันถึงแก่อสัญกรรม ต่างฝ่ายต่างสูญเสียทรัพย์สินส่วนตัวเป็นจำนวนมาก พ.ศ. 2418 เกิดศึกฮ่อ เจ้าพรหมเทวาถูกเกณฑ์ไปราชการทัพฮ่อ หลังศึกฮ่อได้อัญเชิญพระพุทธรูป 2 องค์ คือ พระทองทิพย์ และพระทอง ประดิษฐาน ที่วัดศรีทอง และวัดไชยมงคล
พ.ศ. 2422 กราบบังคมทูลขอตั้งบ้านท่ายักขุ เป็นเมืองชานุมานมณฑล บ้านพระเหลา เป็นเมืองพนานิคม ให้เมืองทั้งสอง ขึ้นกับเมือง อุบลราชธานี
การแต่งตั้งเจ้าเมืองสมัยโบราณ พบหลักฐาน เอกสารการแต่งตั้งเจ้าเมือง องค์ที่ 3 คือ พระพรหมราชวงศา (กุทอง) กล่าวถึงเครื่องยศ ที่ทางกรุงเทพฯ พระราชทานแก่ เจ้าเมืองอุบลฯ ประกอบด้วย
พานถมเครื่องในทองคำ
1 สำรับ
เครื่องยศเจ้าเมืองอุบลฯ สมัยโบราณ
คนโททองคำ
1 ใบ
กระโถนถม
1 ใบ
ลูกประคำทองคำ
1 สาย
กระบี่บั้งถม
1 อัน
เสื้อหมวกตุ้มปี
1 ชุด
สัปทนปัสตู
1 ชุด
ปืนคาบศิลาคอลาย
1 กระบอก
เสื้อเข้มขาบริ้วเลื้อย
1 ตัว
ส่านไทยปักทอง
1 ชุด
ผ้าปู
1 ผืน
มีพระบรมราชโองการ ให้เจ้าเมืองปกครองราษฎร ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ดังความว่า "...ให้โอบอ้อมอารีต่ออาณาประชาราษฎร์ อย่าเบียดเบียน ข่มเหงไพร่บ้านพลเมือง ปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ทำนุบำรุงพระสงฆ์ สามเณรให้ปฏิบัติเล่าเรืยนคันถธุระ วิปัสสนาธุระ กำชับ กำชาไพร่บ้านพลเมือง อย่าให้สูบฝิ่น ซื้อฝิ่น กินฝิ่น ให้กระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาปีละ 2 ครั้ง...

ปีใหม่

ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย
เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชคำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดีข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรีโปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัยให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัยให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดีตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

ทำนายราษีกรกฎตลอดปี

ราศีกรกฎ (Cancer)
เกิดระหว่าง 15 ก.ค. – 16 ส.ค.
มกราคมเดือนนี้ควรพูดได้แล้วระวังไว้อย่างเดียวอย่าใช้ถ้อยคำให้รุนแรงนัก เก็บกดเอาไว้นานๆมันไม่ดีหรอก หลุดปากออกมาก็จะพรั่งพรูเหมือนเขื่อนพัง การงานที่ฝากให้คนอื่นทำถึงเขาจะรับปากรับคำท่าไหน ควรหมั่นติดตามให้ใกล้ชิด
กุมภาพันธ์เดือนนี้แตะต้องไม่ได้เลย คือเรื่องการลงทุนหรือค้ำประกัน สุขภาพของคุณก็สามวันดีสี่วันไข้
มีนาคมจะมีมิตรสหายมาชักชวนไปท่องเที่ยวหรือพักผ่อนหย่อนใจ ให้เกรงใจว่าจะมีคนรู้จักบางคนจะมาหลอกล่อให้ประพฤติตนเสื่อมเสีย โดยเฉพาะเพศตรงข้าม
เมษายนข้อควรระวังคือ อย่าประมาทการจับจ่ายใช้สอย กลางเดือนนั้นไม่สู้จะดี ควรระวังปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของตัวคุณเองและคู่ครอง ระวังจะมีอุบัติเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องบันดาลโทสะ ญาติผู้ใหญ่และมิตรสหายที่อยู่ห่างไกลจะมาเยี่ยม
พฤษภาคมมีเกณฑ์ดีเรื่องการท่องเที่ยวเมืองไกล หรืออาจได้รับลาภผลจากเพื่อนฝูงที่อยู่ต่างแดน เรื่องความรัก ช่วงนี้คุณอาจเป็นกังวลเพราะแฟนของคุณยังพร่ำเพ้อถึงแฟนเก่าที่เคยเที่ยว เตร่เฮฮากันมา
มิถุนายนความหมายของบาปเคราะห์มีว่า กิจการทั้งปวงควรกระทำด้วยความรอบคอบ และไม่ควรลงทุนในกิจการที่ต้องเสี่ยงโชค เป็นคดีความก็พ่ายแพ้
กรกฎาคมระวังจะมีอุบัติเหตุรุนแรง ระวังจะมีปากเสียงวิวาทกับผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ระวังญาติผู้ใหญ่จะล้มป่วยกระทันหัน
สิงหาคมกระแสทางการเงินมีบาปเคราะห์ร้ายอยู่ชุลมุน ความสัมพันธ์เกี่ยวกับความรักไม่สู้ดี ถึงจะกระสันจนหน้าเขียวหน้าดำก็ควรอดใจรอไว้อีกสักพัก ระหว่างนี้ดาวเคราะห์อันสำคัญท่านมีวิถีโคจรเป็นวิกล
กันยายนมีเกณฑ์ได้รับลาภผลและสิ่งของต้องใจ แถวปลายเดือน แต่ในตอนนั้นคุณก็จ่ายได้จ่ายเอาอีกเช่นกันละ
ตุลาคมระวังอย่าได้แสวงหาโชคลาภจากทางไกล จะพบกับความล้มเหลว ผู้มาเยี่ยมเยือนจากทางไกลมักจะนำความเดือดร้อนมาสู่
พฤศจิกายนมีเกณฑ์ได้พบปะกับเพศตรงข้ามที่ต้องใจ
ธันวาคมบางดวงจะพบรักในที่ทำงานหรือวงการงาน ส่วนคนที่มีครอบครัวแล้ว เรื่องที่ตกลงกันไม่ได้ก็พอที่จะเข้าใจกัน รักที่ห่างเหินไปชั่วขณะจะกลับมา

ทำนายราศีมังกรตลอดปี

ราศีมังกร (Capricorn)
เกิดระหว่าง 16 ม.ค. – 12 ก.พ.
มกราคมงานมีลักษณะดีขึ้น แต่อุปสรรคและความขัดแย้งนานัปการยังมีอยู่เหมือนเดิม
กุมภาพันธ์กลางเดือนยังชวนให้ปวดแสบปวดร้อนอยู่เช่นเดิม บ้านช่องภายในที่อยู่อาศัยยังดูอึมครึม การเงิน หมดเปลืองไปในค่าจ้าง ค่าบริการ รายจ่ายเนื่องมาจากการรักษาพยาบาล การศึกษายังมีลักษณะดีเหมือนเดิม
มีนาคมมีจังหวะดีในการเดินทางไกล หรือติดต่อกับชาวต่างชาติต่างภาษา มิตรหน้าใหม่เข้ามามีบทบาทสัมพันธ์กับสภาพความเป็นอยู่ใกล้ชิดกว่าที่เคย เป็นมา
เมษายนจะมีข่าวดีด้วยเรื่องบุตร มีเกณฑ์ได้รับลาภผลหรือได้รับข่าวดีากเมืองไกล หรือไม่ก็ต้องติดต่อเพื่อร่วมกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดกับชาวต่างชาติ ระวังจะมีเหตุวิวาทบาดหมางกับคู่ครองด้วยเรื่องราวแต่หนหลัง
มีเกณฑ์ดีเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวเมืองไกลหรือาจได้รับลาภผลสิ่งของจากเพื่อนฝูงที่อยู่ต่างแดน
สิงหาคมถึงแม้จะเห็นมีอุปสรรคล้อมหน้าล้อมหลังสารพัด แต่ปัญหาทั้งหลายจะมีผู้หลักผู้ใหญ่คอยให้ความช่วยเหลือ
กันยายนคุณที่วางแผนอนาคตไว้อย่างสวยหรู เดือนนี้คุณก็ทำได้จริงๆอย่างน่าปลื้มใจแทน
ตุลาคมช่วงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางชีวิตอย่างใหญ่หลวง เป็นไปในทางเจริญก้าวหน้า คุณจะใช้ความคิดเป็นของตัวเองและตัดสินใจเองได้ และพร้อมที่จะปฏิบัติงานสร้างสรรค์อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย
พฤศจิกายนระยะนี้ควรจะได้ลาภผลเกี่ยวกับการงาน และยังมีทีท่าว่าจะได้ลาภผลทางการเงินด้วย
ธันวาคมเมื่อการงานเดิน เงินก็ต้องดีไปด้วย คุณมีหังการค้า ทำธุรกิจใดๆได้ผลมาก เดือนนี้ต่อไปจะเห็นนักล่าความสำเร็จอย่างจริงแท้ แม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อยก็ตามที มีเกณฑ์จะได้พบเพศตรงข้ามที่ต้องใจ แต่เรื่องนี้ยังหวังจริงจังไม่ได้ ถ้าเริ่มไปต้องตาต้องใจหนุ่มคนไหน เดือนนี้ต้องเฝ้าให้ใกล้ชิด อาจมีสาวอื่นมาแย่ง แต่ไม่ต้องประสาทกิน เขาไม่พิศวาสผู้หญิงคนนั้นเท่าไหร่หรอก…

ทำนายดวงชะตาปี 2553

เศรฐกิจในปี 2553 นี้เป็นอีกหนึ่งปีที่อีรุงตุงนัง โดยเฉพาะในช่วยครึ่งปีแรก และยิ่งครึ่งปีหลัง ปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นเกิดขึ้น ยังทำให้สภาพรวมของเศรษกิจไปทางขาขึ้นในทางที่เด่นชัด แต่ยังไม่ปรากฎในดวงชตาของเมือง แต่มีที่เป็นความหวังคือ ผลิตผลทางการเกษตร แต่เป็นความเหนื่อยยากของเกษตรกร ที่จะต้องต่อสู้กับเรื่องของปัญหาของภัยธรรมชาติจากแมลงและจากฤดูกาลต่างๆ ที่มีปัญหา แต่เชื่อได้เลยว่า ปี 2553 เกษตรกรจะขายพืชผลทางการเกษตรได้ราคา ฟันธงไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา หรืออะไรก็ตามที รับรองว่าได้ราคา การค้าระหว่างประเทศอันเกี่ยวข้องกับเรื่องของพืชสมุนไพร หรือพืชผลทางการเกษตร จะนำมาซึ่งรายได้เข้าสู่ประเทศไทย และคนที่ทำการค้าในด้านนี้ ฟันธงเรื่องไฮเทค เทคโนโลยี เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะดาวราหูโคจรอยู่ในหุบสุภะของดวงเมือง เรื่องการลงทุนข้ามชาติของชาวต่างชาติ จะมีมุมที่จะประสบความสำเร็จ เรื่องของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายข้ามชาติจะประสบความสำเร็จ แต่ปัญหาก็คือว่า การลงทุนแต่ชั้นเดิมของนักลงทุนและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จะมีปัญหาอยากให้ใครก็ตามที ที่อยากจะได้เงิน ซื้อทองคำ จะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับสำหรับในปี 2553อย่างไรตามที เศรษฐกิจไทยในปี 2553 ยังอยู่ในภาวะ ซึม เซา ซบ และมีภาวะที่รอจังหวะขยับขยาย เศรษฐกิจไทยจะพลิกผันขยับขยายเศรษฐกิจจะฟู่ฟ่าหลังจากปี 2554 2555 ปีนี้ก็ประคับประคองตัว อย่าทำอะไรโดยประมาท อย่าผลีผลาม เป็นปีแห่งการเตรียมจะเริ่มต้นใหม่ เตรียมจะเริ่มต้น เตรียมจะขยับขยาย ดังนั้นจึงเป็นปีที่หลายคนจะเหนื่อยกายเหนื่อยใจ ล้า ต้องอดทน ฉะนั้นในปีนี้ต้องระมัดระวังในการลงทุน ต้องระมัดระวังในการทำกิจการและการงาน อย่าประมาท งดการที่ทำอะไรเกี่ยวกับการสุ่มเสี่ยง หรือว่ามีโอกาสลงทุน ก็เอาเงินไปลงทุนเรื่องเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์เอาไว้ เรื่องเกี่ยวกับการเกษตรเอาไว้ เรื่องเกี่ยวกับไฮเทค เทคโนโลยีเอาไว้ ก็ขอฝากบอกไว้ยังงี้ครับ ท่ามกลางที่เศรษฐกิจที่ผกผันและมีปัญหา ประเทศไทยอาจจะมีอัศจรรย์บางอย่างที่เกิดขึ้น เช่นค้นพบน้ำมันหรือแร่ธาตุ หรือค้นพบทองคำ หรืออะไรก็ตามที แต่ผมคิดว่าทองคำก็คือ ข้าว หรือพืชผลทางการเกษตร ที่จะนำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล ก็ขอให้นี่เป็นข่าวที่จะทำให้หลายคนหน้าบาน และวางแผนที่จะต่อสู้กับวิกฤตนั้น ด้วยความตั้งใจ ขอเป็นกำลังใจให้ปวงชนชาวไทย ให้แฟนรายการทุกคนทุกท่านฝ่าฟันให้พ้นวิกฤตทางเศรษฐกิจขานี้ไปให้ได้ แล้วปีหน้าฟ้าใหม่ คุณจะมีอะไรที่ชื่นใจอย่างแน่นอน ฟันธง

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์จากไปษณีย์อิเลคทรอนิกส์

1.ช่วยตกแต่งเว็บไซต์ได้
2.นำเสนอผลงานได้
3.ตกแต่งhi5 ได้